Transfer Money To Thai
เคยเขียนบทความ Tel To Thai มาแล้วครับ เมื่อปี 2009 แล้วเมื่อปี 2011 ก็เขียนเรื่อง Toll Free ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการโทรศัพท์กลับเมืองไทยแบบประหยัดว่าจะต้องทำอย่างไร มาฉุกคิดบทความ”เรื่องการโอนเงินกลับเมืองไทย(transfer money to Thai)” ก็ตอนที่ผู้เขียนทำการโอนเงินผ่าน Bpay ไปที่ Travel Money Card ของ Commonwealth Bank เพื่อให้คนที่เมืองไทยกดเงินไปใช้ มีความคิดขึ้นมาว่า น่าจะเขียนเรื่องวิธีการโอนเงินกลับไทย ว่ามีกี่แบบ กี่วิธี แต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายๆท่าน ก็จะมีหลากหลายวิธีในการใช้บริการในเรื่องนี้ หรือท่านที่เพิ่งมาใหม่อาจะยังไม่ทราบว่า มีการโอนเงินกี่วิธี วิธีไหนสะดวก และประหยัดที่สุด เรามาว่ากันเลยครับ
1-โอนเงินที่แบงค์
แรกๆทีเดียวที่ผู้เขียนมาอยู่ใหม่ๆ ก็ใช้วิธีการเอาเงินสดไปที่เค้าเตอร์ของแบงค์แล้วก็ทำการโอนเงินไปเบอร์บัญชีที่เมืองไทยครับ วิธีนี้ง่ายที่สุดแล้วครับ ใครๆก็ทำได้ ไม่ยุ่งยากแต่ค่าธรรมเนียมแพงหน่อย ขอยกตัวอย่างของ Commonwealth Bank ครับ
วิธีการ
-ไปที่ธนาคาร แจ้งพนักงานว่าต้องการโอนเงินไปประเทศไทย พนักงานสอบถามจำนวนเงินที่ต้องการโอน และรายละเอียดการโอนเงิน ดังนี้
-ชื่อ นามสกุล ผู้รับโอนเงิน
-ที่อยู่ ของผู้รับโอน
-เบอร์บัญชี ชื่อธนาคาร
-Swift code ของธนาคารที่เราต้องการจะโอนเงินเข้าไป (ดูรายละเอียดของ swift code ของแต่ละแบงค์ได้ที่เวบไซด์ http://www.thaivisa.com/thai-bank-swift-codes.html)
-พนักงานกรอกรายละเอียดที่เราให้ ลงคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว เค้าก็จะพิมพ์ รายละเอียดการโอนเงิน มาให้เราตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อน ถ้าเราโอเค ถูกต้องแล้ว
-พนักงานพาเราไปที่เค้าเตอร์รับฝาก-ถอนเงิน แล้วก็ยื่นเงินที่เราจะโอนให้พนักงานที่เค้าเตอร์จัดการโอนเงินให้เรา
ค่าธรรมเนียม
- $30
2-โอนผ่าน Net Banking
เมื่อใช้วิธีแรกไปเรื่อยๆ ก็เริ่มมองหาวิธีการที่จะลดค่าธรรมเนียมในการโอน มันน้อยซะเมื่อไหร่หละครับ $30 ต่อครั้ง ยิ่งคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 900 บาท มารู้จากพนักงานแบงค์ว่า เราสามารถโอนเองได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ Net Banking ของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ ในที่นี้ก็ Commonwealth Bank เหมือนเดิมละครับท่านผู้อ่าน
วิธีการ
-ผู้อ่านก็ต้องไปสมัคร เล่น net banking ของแต่ละแบงค์ที่เรามีบัญชีกับเค้าก่อน หลังจากนั้นก็จะได้ user name and password มา
-ขั้นต่อไปก็เอา user name กับ password มาเข้าใช้งานที่เวบไซด์ของแบงค์นั้นๆ
-เมื่อไปที่ระบบ net banking ของธนาคารแล้ว จะมีหัวข้อ Transfer แล้วก็จะมีหัวข้อย่อยอีก ให้ผู้อ่านเลือกหัวข้อ internation money transfer หลังจากนั้นก็ทำตามคำสั่งที่เค้าโชว์ที่หน้าจอภาพครับ
ค่าธรรมเนียม
-$22 จะถูกกว่าการไปโอนที่เค้าเตอร์ $8
3-ส่งการ์ด ATM ไปเมืองไทย
วิธีการนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดละครับ ไม่ต้องเสียเวลาไปแบงค์ หรือ ทำการโอนผ่านเน็ต แบงค์กิ้ง
ผู้เขียนส่งการ์ด ATM ของ NAB ให้คุณแม่ของผู้เขียนถือเอาไว้ ซึ่งทางผู้เขียนจะโอนเงินเข้าทุกอาทิตย์ เวลาที่เมืองไทยต้องการใช้เงิน ก็จะสามารถกดเงินได้เองจากตู้ ATM ที่เมืองไทย เท่าที่เข้าไปดูรายการ รายละเอียดของบัญชีของผู้เขียนจากอินเตอร์เน็ต จะเห็นรายการค่าธรรมเนียมต่างๆ ปรากฏ ดังนี้
-1$ ทุกครั้งที่มีการสอบถามยอดเงินคงเหลือ ผ่าน ATM (Balance Enquiry Fee)
-4$ ทุกครั้งที่มีการเบิกเงิน (Overseas ATM Tran Fee)
-แล้วก็ยังมีค่าธรรมเนียม Foreign Currency Tran Fee อีก วันที่ 22 MAY โดนไปสองรอบ 6.61$ ,13.21$ เพราะวันที่ 21 MAY มีการถอนเงินไปสองรอบคือ 330.56$ และ 656.24$ ตามลำดับ นั่นก็พอจะอนุมานได้ว่า ถอนประมาณ 300$ โดนชาร์ทไปอีก 6$(2%), ถอน 600$ โดนชาร์ท 12$
สรุปว่า ถ้าสอบถามยอดเงินหนึ่งครั้งก่อนถอน(ค่าธรรมเนียม 1$ ) สมมติว่าถอนเงิน 600$ (ค่าธรรมเนียม 12$) และมีค่าธรรมเนียมการถอนเงินจากต่างประเทศอีก 4$ รวมความแล้วคือ เสียค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น 1$+12$+4$ =15$
ถ้าเราเทียบกับการใช้บริการ NAB Travel Money จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้รับคือ เสียค่าบริการแค่การใส่เงินครั้งเดียว สมมติว่าใส่เงิน 600$ ก็จะเสียค่าธรรมเนียม แค่ 600$*1%= 6$ ที่เหลือตอนเมืองไทย กดเงิน ไม่เสียค่าธรรมเนียมสอบถามยอด 1$ ,ไม่เสียค่าธรรมเนียมถอนเงินต่างประเทศ 4$ และ ไม่เสียค่า foreign currency transaction fee นั่นก็คือการประหยัดเงินไปได้คือ 15$-6$=9$ (คิดเป็นเงินไทยโดยประมาณก็ 9$*30=270บาท)
ส่วนการ apply travel card ของ NAB ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ ทำได้เลย ไปที่แบงค์ไปบอกที่เค้าเตอร์รับฝาก ถอนเงิน ให้เค้าจัดการให้
4-Travel Money Card
ผู้เขียนมีกรณีศึกษาของ 2 แบงค์ คือ Commonwealth และ Nab Bank
-Commonwealth Bank
จะซื้อการ์ดทำอย่างไร ??? ท่านผู้อ่านสามารถไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.commbank.com.au/personal/international/travel-money-card มี 2ทาง คือซื้อที่สาขา หรือซื้อแบบออนไลน์ ง่ายสุดก็คือไปที่ธนาคารใกล้บ้าน บอกพนักงานว่าต้องการ Travel Money เท่าที่อ่านรายละเอียดที่หน้าเวบไซด์ มีรายละเอียดว่า จะต้องจ่ายค่าการ์ด 15$ และทุกครั้งที่ใส่เงินเสียค่าธรรมเนียม 1% (อันนี้เท่ากับ Nab) เมื่อได้การ์ดมาแล้ว ท่านก็จะต้องทำการ activate card เพื่อที่จะใช้งานการ์ดนี้ เผอิญว่า ของผู้เขียนเคยใช้บริการมาแล้ว เมื่อการ์ดหมดอายุ ทางธนาคารก็แจ้งมาทางจดหมายว่า การ์ดของท่านจะหมดอายุแล้ว หากต้องการใช้บริการต่อ ให้ติดต่อไปที่เบอร์ที่เค้าแจ้งมา เมื่อผู้เขียนโทรติดต่อแล้วว่าต้องการใช้บริการอีก ขั้นตอนต่อไปก็รอรับการ์ด และเมื่อผู้เขียนได้รับการ์ดใหม่ ก็จะต้องดำเนินการ activate การ์ดเช่นเดียวกัน
จากจดหมายตัวอย่าง (ตามรูป) ทางแบงค์ส่งการ์ด Travel money มาให้ 2 ใบ พร้อมกัน ในจดหมายเขียนขั้นตอนการ Activate card มาให้ว่า ให้เราไปที่ www.commbank.com.au/activatetravelmoney
ผู้เขียนก็ทำตามขั้นตอนครับ บันทึก url ข้างต้น แล้วหน้าจอก็จะขึ้นมาว่า
Activate your Travel Money Card แจ้งว่ามีอยู่ 3 ขั้นตอนในการดำเนินการ คือ
Step 1: Sign both cards immediately
Step 2: Make sure you have your 6-digit Registration Code handy
Step 3: Activate your card
ให้เราดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้น และจะมีปุ่มอยู่ด้านล่างจอภาพ เขียนว่า ACTIVATE ผู้เขียนคลิกครับ
หน้าจอภาพ ให้เรากรอก เลขที่บัตร card number , registration code , card verification code เมื่อกรอกเสร็จแล้วก็คลิก summit ไม่ผ่านครับ unsuccessful
-ผู้เขียนต้องโทรไปศูนย์ครับ 132221 ทำตามขั้นตอน ได้คุยกับพนักงานครับ ติดแล้วครับ แจ้งความต้องการ ว่าต้องการ activate travel money
-พนักงานต่อสายไปที่ แผนก travel money มีคำสั่งให้เราใส่ card number แล้วก็ใส่ 3digit security code on back of your card ,ให้ใส่ six digit password access code ไม่ได้อีกครับ เข้าใจว่า six digit password access code ผิดครับ
-กลับไปอ่านที่เวบไซด์ครับ ในหัวข้อ step 2 ที่ข้างต้น มีหัวข้อว่า ลืมพาสเวิร์ดให้คลิก ที่นี่ แล้วจะส่งพาสเวิร์ดไปให้เราที่อีเมล์ที่เราลงทะเบียนเอาไว้ ผู้เขียนคลิกครับ แล้วก็ไปเช็คอีเมล์ ไม่มีอีเมล์อะไรครับ (เพิ่งมารู้ภายหลัง หลังจากที่สามารถเข้าไปที่ระบบหลังร้านของ travel money ได้แล้วก็ถึงบางอ้อว่า จะมีเมล์ส่งไปได้อย่างไรหละครับ ไม่มีแน่นอน เพราะที่ระบบหลังร้าน ไม่ได้กรอกชื่ออีเมล์ของผู้เขียนเอาไว้ครับ)
-โทรใหม่ 1300 660 700 แล้วกด * (เห็นเบอร์นี้จากเวบไซด์ travel money) บอกข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ไปแล้วก็ช่วยอะไรเราไม่ได้ ให้ผู้เขียนไปที่สาขา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยเรา ไม่สามารถช่วยทางโทรศัพท์ ผู้เขียนไม่เชื่อครับ คิดว่าต้องสามารถทำการ activate ได้ทางโทรศัพท์
-โทรอีกรอบครับ ที่ 132221 ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ ครั้งนี้สำเร็จครับ สามารถ activate card ได้แล้ว หลังจากพนักงาน สอบถามยืนยันตัวตนเราแล้ว เราก็แจ้งว่า เราใส่ six digit password access code ผิด เค้าก็แจ้งเลขหกหลักที่ถูกต้องให้เรา เสร็จแล้ว ก็ให้เราลอง activate อีกรอบคือ ใส่เลขที่การ์ด ,ใส่รหัสหกหลัก และเลขสามหลักที่หลังการ์ด ครับได้แล้วครับเข้าไปที่หลังร้านของบัตร travel money แล้วครับ your activate successful
-ที่ระบบงานหลังร้านของ travel money มีอะไรบ้าง ? หัวข้อด้านบนสองหัวข้อว่า my card และ my setting
-หัวข้อที่ด้านข้างซ้ายมือ มี 9 หัวข้อ summary ,card summary, last 10 transactions ,recent transactions(last 180 days) ,transaction history (older than 180 days),add new currency ,card lock/unlock ,transfer between currencies ,logout
-หลังจากเข้าระบบหลังร้านได้แล้ว ผู้เขียนก็มีโอกาสได้สอบถามเจ้าหน้าที่ต่อ เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่างๆในการใช้การ์ดปกติ เปรียบเทียบกับการใช้ travel money card ถ้าเราเดินทางกลับไปเมืองไทย
-การ์ดทั่วไป (กรณีนี้ก็เหมือนกับการที่เราส่งการ์ด ATM ของเราที่มีไปให้คนที่เมืองไทยใช้) จะมีค่าธรรมเนียมในการเบิกเงิน 5$ + 2.95% ของจำนวนเงินที่เบิก ถ้าใช้การ์ดซื้อของ คิดค่าธรรมเนียม 2.95% จากมูลค่าของที่ซื้อด้วยการ์ด และการขอดูยอดคงเหลือไม่ชาร์ตครับ
-กรณีใช้ travel money card เมื่อเบิกเงินที่เมืองไทยชาร์ต ค่าธรรมเนียม 3.50$ ต่อครั้ง (ATM Withdrawal Fee) ถ้าใช้การ์ดซื้อของไม่มีการชาร์ตครับ
เปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นว่า ใช้ travel money card จะประหยัดกว่า (5$-3.5$)1.5$ + 2.95% (ของจำนวนเงินที่เราเบิกทุกครั้ง)
-Nab Bank
ผู้เขียนได้ไปที่สาขา สอบถามที่พนักงานรับฝาก-ถอนเงินครับว่า ต้องการที่จะทำ Travel money card เพื่อส่งการ์ดไปให้คนที่เมืองไทยกดเงิน ตายเลยครับ ไม่ได้ครับเค้าบอกว่า บัตรเป็นของคุณ คุณต้องถือเอง ห้ามคนอื่นใช้การ์ดคุณ เอาหละครับต้องถอยทัพก่อนละครับวันนี้ ถ้าจะไปทำการ์ดนี้ ผู้อ่านก็ไม่ต้องไปบอกจุดประสงค์เค้านะครับ เพราะการ์ดนี้มีไว้เพื่อให้เราทำตอนเดินทางกลับเมืองไทย และต้องการกดเงินใช้ที่เมืองไทยแบบมีค่าธรรมเนียมถูกๆ ไม่ใช่ทำเพื่อให้เราส่งการ์ดกลับเมืองไทย โอนเงินใส่การ์ด และให้คนไทยที่ถือการ์ดของเรากดเงิน
วันที่สองไปใหม่ครับ คราวนี้ก็ไปแจ้งเค้าเลยว่าต้องการ Travel money card ต้องการกลับไทย เค้าก็ถามรายละเอียด เราตามปกติ ผู้เขียนก็ทำการใส่เงินไป 100$ ทำเหมือนว่าจะกลับเมืองไทยจริงๆหละครับ หลังจากนั้นก็ได้การ์ดมาเลย ได้มา 2 ใบเหมือน Travel money Commonwealth Bank และก็มีรายละเอียดทำตามขั้นตอน 3 step
-step 1 เซ็นชื่อหลังบัตร
-step 2 Register your card ให้ไปที่ nab.com.au/travelcard และทำตามขั้นตอนที่เค้าบอกมา และบอกว่าเราสามารถดูยอดคงเหลือ และรายการเคลื่อนไหวทางออนไลน์ได้
-step 3 To use your card ใช้กับเอทีเอ็ม ที่มีโลโก้ Master Card ก็ใช้เหมือนการ์ดทั่วไป ใส่พิน แล้วเลือกจำนวนเงินที่ต้องการเบิก (เงินบาท) ถ้าต้องการซื้อของก็ใช้พิณ หรือ เซ็นต์ตามปกติเสมือนการใช้บัตรเครดิต
REGISTER TRAVEL CARD
-ไปที่ nab.com.au/travelcard ครับ หน้าจอขึ้นหัวข้อว่า PERSONAL, NAB TRAVELLER CARD ที่กลางจอภาพเขียนว่า Already got NAB traveler ? (or need to register?) แล้วก็มี icon ว่า Login to My Account ผู้เขียนคลิกที่ login ครับ (รายละเอียดต่างๆของการ์ดนี้ อ่านได้จากหน้าเวบไซด์นี้ได้เลยนะครับ อยู่ด้านล่างของ login)
-หน้าจอโชว์รายละเอียดหัวข้อต่างๆ ไปคลิกที่หัวข้อ My Account (manage your card online and move money between currencies)
-หน้าจอขึ้นว่า Traveller card และ มีหัวข้อให้เลือก 3 หัวข้อ login ,new registration แล้วก็ reset password
-เลือกข้อ new registration ครับ
-หน้าจอขึ้นว่า register your card and create user account ,ใส่ card number แล้วก็คลิก register
-หน้าจอโชว์ให้เราใส่ข้อมูลส่วนตัวของเรา พร้อมทั้งใส่อีเมล์ กับตั้ง password
-login ได้แล้วครับ เข้ามาที่ระบบหลังร้านของ NAB TRAVELLER CARD แล้วครับ มีรายละเอียดที่ด้านซ้ายมือของหน้าจอคือ move money ,your detail ,all transaction แล้วก็ล่างสุดหัวข้อ default currency เราสามารถเห็นยอดเงินคงเหลือ และสามารถเช็คการเคลื่อนไหวของการ์ดได้ที่ระบบหลังร้านนี้ครับ ส่วนการนำเงินใส่เข้าไปในการ์ดก็ทำได้โดยการฝากเงินที่เค้าเตอร์ หรือจะไปที่ net banking และโอนเงินเข้า traveler card ก็ได้ครับ
ค่าธรรมเนียม
-การใส่เงินทุกครั้งไปที่ Travel Money Card คิดค่าธรรมเนียม 1% ของยอดเงินที่ใส่ลงไป
-เมื่อมีการใช้การ์ดนี้ที่ต่างประเทศ จะไม่มีการชาร์ท 4$ และไม่มีการชาร์ท 1$ เมื่อสอบถามยอดเงินจากหน้าตู้ ATM
5-Western Union
ช่องทางอื่นๆครับ สำหรับการโอนเงิน ผ่านบริษัทเอกชน ทั้งไทยและเทศ บริษัทที่น่าสนใจที่ ที่เค้าทำธุรกิจโอนเงินโดยเฉพาะ Money Transfer ก็คือ Western Union (http://www.westernunion.com/Home) ผู้เขียนได้สอบถามผู้ที่เคยใช้บริการของที่นี่ ผ่านทางที่ทำการไปรษณีย์
วิธีการ
-แจ้งว่าจะโอนเงินต่างประเทศ ประเทศที่ต้องการจะโอนไป แจ้งชื่อผู้รับเงิน เมื่อทำการโอนเงินแล้ว ผู้โอนจะได้รับโค๊ดมาโค๊ดหนึ่ง ซึ่งต้องบอกโค๊ดนี้ให้กับผู้รับเงิน
-การไปรับเงิน ผู้รับเงินจะต้องไปสถานที่ ที่ให้บริการ Western Union ในประเทศของตัวเอง และแจ้งชื่อ และโค๊ดที่ได้รับมาจากผู้โอนเงิน เพื่อทำการรับเงิน ครับง่ายๆแค่นี้ครับ
ค่าธรรมเนียม
-< $2000 ค่าธรรมเนียม $11
->$2000-$4000 ค่าธรรมเนียม $22
->$4000-$6000 ค่าธรรมเนียม $33
ดูเหมือนว่าค่าธรรมเนียมถูก แล้วก็สะดวกดีครับ แต่ว่าผู้รับ ต้องไปรับเงินเอง อาจเป็นการมองว่าเสียเวลาก็ได้ ถ้าเทียบกับการโอนข้างต้น ซึ่งเงินจะเข้าไปที่บัญชีโดยตรงเลย
สรุปว่า
5 ทางเลือกสำหรับการโอนเงินกลับประเทศไทย คงจะช่วยให้ท่านผู้อ่านมีข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจบ้างไม่มากก็น้อยครับ แต่ในส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่า การที่เราทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเราเอง น่าจะสะดวก แล้วก็ประหยัดทั้งเงิน ทั้งเวลา มากกว่าวิธีอื่นๆ ครับ